รูปแบบของประกัน

ประกันชีวิต คือ การเฉลี่ยความเสียหายจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกหลาย ๆ คน โดยการให้ผู้เอาประกันจ่ายเงินจำนวนหนึ่งในรูปแบบของ "เบี้ยประกัน" ให้แก่ผู้รับประกันไว้เป็นเงินกองกลาง เมื่อผู้เอาประกันได้รับความเสียจากเหตุการณ์ ผู้รับประกันก็จะนำเงินกองกลางนั้นมาชดใช้ตามจำนวนที่ได้ตกลงกัน

การประกันชีวิต แบ่งออกได้ 3 ประเภท

1. ประเภทสามัญ (Ordinary Life Insurance)
คือการประกันชีวิตที่มีจำนวนเอาประกันค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับผู้มีรายได้ ปานกลางหรือสูง โดยทั่วไปจะกำหนดชำระเบี้ย "รายปี ราย 6 เดือน และราย 3 เดือน" การพิจารณารับประกันมีทั้งตรวจสุขภาพและไม่ตรวจสุขภาพ

2.  ประเภทอุตสาหกรรม (lndustrial Life Insurance)
คือการประกันชีวิตที่มีจำนวนเอาประกันภัยไม่สูงมาก จึงไม่ต้องตรวจสุขภาพ การพิจารณารับประกันชีวิตอาศัยข้อมูลจากคำแถลงในใบคำขอเอาประกันภัย โดยทั่วไปกำหนดชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายเดือน อาจมีเงื่อนไขกำหนดระยะเวลารอคอยก็ได้ ระยะเวลาคอยคือระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อพิสูจน์สุขภาพของผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาดังกล่าว บริษัทไม่ต้องจ่ายเงินเอาประกันภัย โดยทั่วไปกำหนดไว้ 180 วัน

3.  ประเภทกลุ่ม (Group Life Insurance)
คือการประกันชีวิตบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์ฉบับเดียว โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงของบุคคลในกลุ่มนั้น อายุ เพศ หน้าที่การงาน หรือจำนวนเอาประกันละใช้เบี้ยประกันภัยอัตราเดียวกับบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้นๆ ประกันชีวิตประเภทนี้เบี้ยประกันจะถูกกว่าการประกันชีวิตประเภทอื่น ๆ เหมาะสำหรับ พนักงาน บริษัทต่างๆ สร้างสวัสดิการ

ประกันชีวิต แบ่งออกเป็น 4 แบบ

1.  แบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) คือการประกันชีวิตที่บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้แก่ผู้รับผลประโยชน์ ถ้าหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น 1 ปี 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี สัญญาประกันชีวิตมีลักษณะเป็นการให้ความคุ้มครองการเสี่ยงภัยอันเกิดจากการเสียชีวิตอย่างเดียว ไม่มีการสะสมทรัพย์รวมอยู่ด้วย จึงมีลักษณะเช่นเดียวกับสัญญาประกันอัคคีภัยเมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วจึงไม่มีมูลค่าใดๆ คืนให้แก่ผู้เอาประกัน

2.  แบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) คือการประกันชีวิตที่บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินตาม
ตามที่ระบุไว้ให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตโดยไม่คำนึงว่าจะเสียชิตเมื่อใด แต่ถ้าหากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 90,96,99 ปี บริษัทประกันชีวิตก็จะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เอาประกันภัย

3.  แบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) คือการประกันชีวิตที่บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้รับประโยชน์ ถ้าหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือจ่ายเงินเอาประกันภัยถ้าหากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่ในวันที่สัญญาครบกำหนด

4.  แบบเงินได้ประจำ (Annuities Insurance) คือการประกันชีวิตที่บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเป็นประจำให้แก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่ในวันที่กำหนดไว้ในสัญญาโดยทั่วไปเงินได้ประจำจะจ่ายเป็นปีทุกๆ ปี จนครบตามเงื่อนไขของสัญญา สัญญาประกันชีวิตแบบนี้เหมาะกับผู้เอาประกันภัยทีประสงค์เพื่อสะสมทรัพย์ไว้เป็นค่าใช้จ่ายหลังจากเกษียณอายุการทำงานแล้ว

การวางแผนการประกัน (lnsurance Planning)

การวางแผนเพื่อเตรียมรับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเรา ครอบครัวของเรา ทรัพย์สินของเรา หรือธุรกิจของเรา การวางแผนที่ดีจะช่วยบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้
การประกันภัยสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
  1. การประกันชีวิต เป็นการคุ้มครองความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับชีวิตผู้เอาประกันภัยโดยกำหนดเป็นวงเงินชดเชยที่แน่นอนตามทุนประกันที่ระบุไว้ นอกจากนี้ ยังสามารถให้ความคุ้มครองครอบคลุมถึงการทุพลภาพ,การเจ็บป่วย,โรคร้ายแรง,อุบัติเหตุ หรือเงินชดเชยรายได้จากการหยุดงาน
  2. การประกันวินาศภัย เป็นการคุ้มครองความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินผู้เอาประกันภัย โดยกำหนดในรูปแบบทุนประกันตามมูลค่าทรัพย์สิน หากมีความสูญเสียเกิดขึ้นจะมีการชดเชยตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินทุนประกันได้แก่ การประกันไฟ,การประกันรถยนต์,ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล,ประกันการเดินทาง,ประกันภัยขนส่งทางทะเลและการประกันเบ็ดเตล็ด
ความแตกต่างระหว่างการประกันชีวิตกับการประกันวินาศภัย

  1. ภัยจากการประกันชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องเกิดแน่นอน แต่ภัยจากวินาศภัยอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้
  2. ประกันชีวิตจะชดเชยตามทุนประกัน ประกันวินาศภัยจะชดเชยตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินวงเงินประกัน
  3. ทุนประกันชีวิตมักจะได้คืนเมื่อครบสัญญา ขณะที่เบี้ยประกันวินาศภัยมักจะเป็นแบบกินเปล่า
  4. การสมัคประกันชีวิตในวงเงินสูง อาจต้องถูกเรียกตรวจสุขภาพ ส่วนประกันวินาศภัยจะไม่มีการเรียกตรวจสุขภาพแต่อาจมีการไปตรวจสภาพสินทรัพย์ที่จะเอาประกันว่าความเสี่ยงภัยและมูลค่าที่แท้จริงเป็นอย่างไร ตรงกับที่แจ้งไว้หรือไม่
  5. เนื่องจากเบี้ยประกันชีวิตจะต้องส่งมอบคืนผู้เอาประกันในวันหนึ่งข้างหน้าดังนั้น เงินออมส่วนนี้ จะมีกฎหมายควบคุมการลงทุนที่ค่อนข้างเข้มงวด ขณะที่เบี้ยประกันวินาศภัย มักเป็นแบบกินเปล่า จึงไม่เข้มงวดในเรื่องการลงทุนเทียบเท่าเบี้ยประกันชีวิต




*เว็บไซต์นี้ไม่ใช่เว็บไซต์ของบริษัทอาคเนย์ประกันชีวิต แต่เป็นเว็บไซต์ที่ตัวแทนประกันชีวิตจัดทำขึ้นเพื่อเสนอทางเลือกให้กับผู้ที่สนใจในประกันชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น